ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (ญี่ปุ่น: ?? ?? Toyotomi Hideyoshi ?; 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอะดะ โนะบุนะงะ

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1537 ในแคว้นโอะวะริ (??( Owari )?) ในบริเวณในเขตนะกะมุระ เมืองนะโงะยะในปัจจุบัน มีชื่อว่า ฮิโยะชิมะรุ (???( Hiyoshi-maru )?) บิดาชื่อว่า คิโนะชิตะ ยะเอะมง (??????( Kinoshita Yaemon )?) เป็นอะชิงะรุ หรือชาวนาทหาร มารดาชื่อว่า นะกะ (Naka) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อว่า โตะโมะ (Tomo) ใน ค.ศ. 1543 ยะเอะมงผู้เป็นบิดาได้เสียชีวิตลง มารดาชื่อนางนะกะได้แต่งงานใหม่กับนายชิกุอะมิ (???( Chikuami )?) ฮิโยะชิมะรุมีความสัมพันธ์ไม่สู้ดีนักกับบิดาเลี้ยงของตน จึงได้หนีออกจากบ้านไปผจญภัยเสี่ยงโชค โดยใช้ชื่อว่า คิโนะชิตะ โทกิชิโร (?????( Kinoshita T?kichir? )?) ได้เป็นข้ารับใช้ของ มะสึชิตะ ยุกิสึนะ (????( Matsushita Yukitsuna )?) ผู้ซึ่งเป็นซะมุไรที่รับใช้อยู่กับตระกูลอิมะงะวะ (??( Imagawa )?) อีกทอดหนึ่ง ฝ่ายมารดาคือนางนะกะ มีบุตรกับสามีใหม่สองคน คือ นางซะโตะ (Sato) หรือต่อมาคือ นางอะซะฮี (???( Asahi-hime )?) และโคทะเกะ (K?take) หรือต่อมาคือโทะโยะโตะมิ ฮิเดะนะงะ (????( Toyotomi Hidenaga )?)

โทกิชิโรเดินทางกลับมายังแคว้นโอะวะริบ้านเกิดใน ค.ศ. 1557 และเข้ารับใช้ตระกูลโอะดะ ซึ่งในขณะนั้นมีผู้นำคือโอะดะ โนะบุนะงะ โดยมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลรองเท้าของโนะบุนะงะ ในค.ศ. 1561 โทกิชิโรได้แต่งงานกับนางเนะเนะ (??( Nene )?) บุตรสาวบุญธรรมของอะซะโนะ นะงะคะสึ (????( Asano Nagakatsu )?) การรับใช้ตระกูลโอะดะทำให้โทกิชิโรได้รู้จักกับมะเอะดะ โทะชิอิเอะ (????( Maeda Toshiie )?) อันจะเป็นพันธมิตรคนสำคัญที่สุดของฮิเดะโยะชิในอนาคต ต่อมาโทกิชิโรจึงได้สร้างผลงานชิ้นแรกใน ค.ศ. 1567 คือการเข้ายึดปราสาทกิฟุ (??( Gifu )?) บนยอดเขาอินะบะ (???( Inaba-yama )?) จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน โดยโทกิชิโรเป็นผู้ค้นพบเส้นทางลัดขึ้นสู้ยอดเขา ทำให้ทัพของโอะดะ โนะบุนะงะ สามารถเข้ายึดปราสาทได้ และใน ค.ศ. 1568 ได้ติดตามทัพของโอะดะ โนะบุนะงะ ในการเข้ายึดเมืองเกียวโต ในเวลาต่อมาภายหลัง โทกิจิโร่ได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่เป็น ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (????( Hashiba Hideyoshi )?) โดยชื่อสกุลใหม่นำมาจากขุนพลเอกของโนะบุนะงะสองคน ได้แก่ นิวะ นะงะฮิเดะ (????( Niwa Nagahide )?) และชิบะตะ คะสึอิเอะ (????( Shibata Katsuie )?) ฮิเดะโยะชิได้รับฉายาว่า ซะรุ (Saru) ที่แปลว่า "ลิง" จากโอะดะ โนะบุนะงะ ด้วยหน้าตาของฮิเดะโยะชิที่คล้ายกับลิง

ฮิเดะโยะชิได้เป็นขุนพลทหารครั้งแรกในยุทธการอะเนะงะวะ (?????( Anegawa-no-tatakai )?) ซึ่งโอะดะ โนะบุนะงะ ได้เอาชนะอะซะกุระ โยะชิกะเงะ (????( Asakura Yoshikage )?) และอะซะอิ นะงะมะสะ (????( Azai Nagamasa )?) ใน ค.ศ. 1570 หลังจากศึกอะเนะงะวะแล้ว ฮิเดะโยะชิจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไดเมียว โดยปกครองดินแดนในแคว้นโอมิ (??( ?mi )?) อันเป็นดินแดนแต่เดิมของตระกูลอะซะอิ และได้รับใช้โอะดะ โนะบุนะงะ ในศึกสงครามอีกหลายครั้ง

จนกระทั่งใน ค.ศ. 1576 โอะดะ โนะบุนะงะได้มอบหมายให้ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ ร่วมกับอะเกะชิ มิสึฮิเดะ (????( Akechi Mitsuhide )?) ยกทัพไปทางตะวันตกสู่ภูมิภาคชูโงะกุ ซึ่งตระกูลโมริ นำโดยโมริ เทะรุโมะโตะ (????( M?ri Terumoto )?) กำลังเรืองอำนาจอยู่ทางฝั่งตะวันตก ฮิเดะโยะชิได้พบกับ คุโระดะ โยะชิตะกะ (????( Kuroda Yoshitaka )?) ซึ่งต่อมาคือ คุโระดะ คัมเบ (?????( Kuroda Kanbei )?) อันจะเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของฮิเดะโยะชิในอนาคต ฮิเดะโยะค่อยๆ พิชิตดินแดนที่ละแคว้น ใช้เวลาร่วมหกปีจนกระทั่งในค.ศ. 1582 ฮิเดะโยะได้เข้าล้อมปราสาททะกะมะสึ (??( Takamatsu )?) ของตระกูลโมริ ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ฮิเดะโยะชิได้ทราบข่าวว่า โอะดะ โนะบุนะงะ ได้ถูกอะเกะชิ มิสึฮิเดะ ลอบสังหารที่วัดฮนโน (???( Honn?-ji )?) ใกล้กับเมืองเกียวโต

เมื่อทราบข่าวการลอบสังหารโอะดะ โนะบุนะงะแล้ว ฮิเดะโยะชิจึงรีบเจรจาสงบศึกกับตระกูลโมริ และยกทัพมาจากภูมิภาคชูโงะกุอย่างรวดเร็วมาสู่เมืองเกียวโตโดยใช้เวลาเพียงสองสัปดาห์ เพื่อแก้แค้นให้แก่นายของตน โดยสามารถเอาชนะอะเกะชิ มิสึฮิเดะได้ในยุทธการยะมะซะกิ (?????( Yamazaki-no-tatakai )?) มิสึฮิเดะเสียชีวิตในที่รบ

ในฐานะผู้ที่สามารถแก้แค้นให้แก่โอะดะ โนะบุนะงะได้สำเร็จ ทำให้ฮิเดะโยะชิได้รับการยกย่องและขึ้นมามีอำนาจในตระกูลโอะดะ เมื่อโนะบุนะงะถูกลอบสังหารไปแล้ว โอะดะ โนะบุกะสึ (????( Oda Nobukatsu )?) บุตรชายคนที่สองของโนะบุนะงะ และโอะดะ โนะบุตะกะ (????( Oda Nobutaka )?) บุตรชายคนที่สาม ได้แข่งขันกันเพื่อเป็นผู้สืบทอดตระกูลโอะดะ ฮิเดะโยะชิจึงจัดการประชุมที่ปราสาทคิโยะสุ (??( Kiyosu )?) ในแคว้นโอะวะริ เพื่อตกลงหาผู้สืบทอดตระกูลโอะดะ ด้วยความเห็นชอบจากขุนพลอาวุโสเช่น นิวะ นะงะฮิเดะ ฮิเดะโยะชิจึงประกาศว่าให้ซันโปชิ (???( Sanp?shi )?) หรือต่อมาคือ โอะดะ ฮิเดะโนะบุ (????( Oda Hidenobu )?) บุตรชายของโอะดะ โนะบุทะดะ หลานชายของโอะดะ โนะบุนะงะ ซึ่งมีอายุเพียงสองขวบ เป็นผู้สืบทอดตระกูลโอะดะต่อมา การตัดสินใจในครั้งนี้ เป็นที่ต่อต้านอย่างมากจากขุนพลคนอื่นๆ ของตระกูลโอะดะ โดยเฉพาะชิบะตะ คะสึอิเอะ ผู้ซึ่งเห็นว่าการที่ฮิเดะโยะชิให้เด็กสองขวบขึ้นมาปกครองตระกูลโอะดะนั้น ก็เพื่อเป็นหุ่นเชิดแก่ตนในการเข้ายึดอำนาจในตระกูลโอะดะ

ขุนพลตระกูลโอะดะเริ่มที่จะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่สนับสนุนฮิเดะโยะชิ และฝ่ายที่ต่อต้านฮิเดะโยะชิ นำโดยชิบะตะ คะสึอิเอะ ใน ค.ศ. 1583 ฮิเดะโยะชิจึงต้องทำสงครามกับชิบะตะ คะสึอิเอะ โดยนำกำลังเข้าบุกแคว้นเอะจิเซ็ง (??( Echizen )?) ซึ่งคะสึอิเอะปกครองอยู่ จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน และเอาชนะคะสึอิเอะในยุทธการชิซุงะตะเกะ (??????( Shizugatake-no-tatakai )?) และเข้ายึดปราสาทคิตะโนะโช (???( Kitanosho-j? )?) อันเป็นฐานที่มั่นของคะสึอิเอะได้สำเร็จ คะสึอิเอะจึงทำเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปพร้อมกับนางอิจิภรรยา (น้องสาวของโอะดะ โนะบุนะงะ) ฮิเดะโยะชิจึงรับเอาบุตรสาวทั้งสามของนางอิจิมาเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่อกำจัดชิบะตะ คะสึอิเอะ ออกไปได้สำเร็จแล้ว ปรากฏว่าโอะดะ โนะบุคะสึ ได้ร้องขอให้โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (????( Tokugawa Ieyasu )?) ไดเมียวแห่งแคว้นมิกะวะ ช่วยเหลือให้ตนได้ขึ้นครองตระกูลโอะดะ ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ และ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ สองผู้ปกครองญี่ปุ่นในอนาคต จึงต้องทำสงครามกัน ในยุทธการที่โคะมะกิและนะงะกุเตะ (?????????( Komaki-Nagakute-no-tatakai )?) ในค.ศ. 1584 ปรากฏว่าไม่สามารถเอาชนะกันได้ จนต้องเจรจาสงบศึก โดยฮิเดะโยะชิได้ส่งน้องสาวต่างมารดาของตน คือนางอะซะฮี ไปเป็นภรรยาเอกของอิเอะยะซุ และส่งมารดาของตนคือนางนะกะ ไปเป็นตัวประกันที่แคว้นมิกะวะ

ใน ค.ศ. 1583 ฮิเดะโยะชิได้สร้างปราสาทโอซะกะ (???( ?saka-j? )?) ให้เป็นที่พำนักของตน ให้ยิ่งใหญ่กว่าปราสาทอะซุจิอันเป็นที่พำนักของโอะดะ โนะบุนะงะ

ฮิเดะโยะชิมีความทะเยอทะยานอยากที่จะเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นทั้งหมด และต้องการทำแหน่งโชกุน ฮิเดะโยะชิจึงสร้างสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักเกียวโต แต่ฮิเดะโยะชิไม่สามารถรับตำแหน่งโชกุนได้เนื่องจากไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลมินะโมะโตะ ใน ค.ศ. 1585 ฮะชิบะ ฮิเดะโยชิ ร่วมกับฮะชิบะ ฮิเดะนะงะ น้องชาย และไดเมียวจากภูมิภาคชูโงะกุอีกสองคนคือ อุกิตะ ฮิเดะอิเอะ (?????( Ukita Hideie )?) และโคะบะยะกะวะ ทะกะกะเงะ (?????( Kobayakawa Takakage )?) เข้ารุกรานเกาะชิโกกุ ซึ่งในขณะนั้นปกครองโดยโจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ (???? ??( Ch?sokabe Motochika )?) โดยที่ตระกูลโจโซะคะเบะก็ได้ยอมจำนนแต่โดยดี

ใน ค.ศ. 1586 ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "คัมปะกุ" (??( Kampaku )?) หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิ รวมทั้งได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่จากพระจักรพรรดิว่า โทะโยะโตะมิ และในปีเดียวกันนั้นเอง คัมปะกุฮิเดะโยะชิได้สร้างคฤหาสน์จูระกุได (???( Jurakudai )?) ไว้เป็นที่พำนักของตนในเมืองเกียวโตและเป็นที่รับรององค์พระจักรพรรดิ

ฝ่ายทางเกาะคีวชูนั้น ตระกูลชิมะซุแห่งแคว้นซะสึมะทางตอนใต้ของเกาะคีวชู นำโดย ชิมะซุ โยะชิฮิสะ (????( Shimazu Yoshihisa )?) ได้เข้ารุกรานและมีชัยชนะเหนือตระกูลโอโตะโมะ (??( ?tomo )?) ทางตอนเหนือของเกาะคีวชู ใน ค.ศ. 1585 ตระกูลโอโตะโมะจึงได้ขอความช่วยเหลือไปยังฮิเดะโยะชิ ฮิเดะโยะชิได้ออกคำสั่งในฐานะคัมปะกุว่า ให้ตระกูลชิมะซุหยุดการขยายอาณาเขต แต่ชิมะซุ โยะชิฮิสะ ไม่เชื่อฟัง ใน ค.ศ. 1586 คัมปะกุฮิเดะโยะชิจึงนำทัพขนาดมหึมาพร้อมกับฮิเดะนะงะน้องชายของตน เข้ารุกรานเกาะคีวชู (????( Ky?sh?-no-eki )?) เพื่อปราบปรามตระกูลชิมะซุ ผลคือความพ่ายแพ้ของตระกูลชิมะซุ โดยชิมะซุ โยะชิฮิสะยอมโกนศีรษะบวชเป็นพระภิกษุเพื่อแสดงความพ่ายแพ้และรักษาแคว้นซะสึมะไว้

เมื่อคัมปะกุฮิเดะโยะชิเดินทางมาถึงเกาะคีวชู ก็พบว่าดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยชาวคริสเตียนและมิชชันนารีชาวโปรตุเกส ที่ได้เข้ามายังญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเซงโงะกุ ใน ค.ศ. 1587 คัมปะกุฮิเดะโยะชิจึงได้ออกประกาศขับไล่ชาวคริสเตียนและมิชชันนารีออกจากญี่ปุ่น (???????( Bateren-h?rei )?) นับว่าเป็นผู้นำญี่ปุ่นคนแรกที่ออกนโยบายกดขี่ชาวคริสเตียน แต่ประกาศในครั้งนี้ยังไม่เป็นที่ใส่ใจมากนัก และใน ค.ศ. 1588 ได้ออกกฎหมายริบอาวุธ (??( Katanagari )?) เพื่อริบอาวุธคือจากชาวนาและอะชิงะรุหรือชาวนานักรบทั้งหลาย เพื่อป้องกันการลุกฮือหรือการเลี่อนชั้นจากชาวนามาเป็นซะมุไร อย่างเช่นตัวฮิเดะโยะชิเองได้กระทำ และกำหนดว่าชนชั้นซะมุไรเท่านั้นที่มีสิทธิถือครองอาวุธได้ กฎหมายนี้ยังคงมีผลต่อไปในสมัยเอะโดะ

เมื่อขยายอำนาจไปจนสุดทางตะวันตกของญี่ปุ่นแล้ว ก็เหลือไดเมียวที่ทรงอำนาจเพียงตระกูลเดียวหลงเหลืออยู่ นั่นคือตระกูลโฮโจในภูมิภาคคันโตทางตะวันออก แต่ทว่าตระกูลโฮโจนั้น เป็นพันธมิตรกับโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่คัมปะกุฮิเดะโยะชิก็ยังคงยืนกรานที่จะขอความช่วยเหลือจากอิเอะยะซุในการปราบปรามตระกูลโฮโจ ใน ค.ศ. 1590 คัมปะกุฮิเดะโยะชิได้ส่งทัพไปทางตะวันออกนำโดยอิเอะยะซุเข้าปราบปรามตระกูลโฮโจ ท่ามกลางความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน อิเอะยะซุได้นำทัพเข้าล้อมปราสาทโอะดะวะระ (?????( Odawara-seibatsu )?) และสามารถหักตีเอาปราสาทได้ในที่สุด โฮโจ อุจิมะสะ (????( H?j? Ujimasa )?) ผู้นำตระกูลโฮโจ ทำเซ็ปปุกุเสียชีวิตไป คัมปะกุฮิเดะโยะชิได้ตอบแทนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โดยยึดแคว้นมิกะวะ อันเป็นแคว้นของตระกูลโทะกุงะวะแต่เดิมคืนมา แล้วให้ไปปกครองภูมิภาคคันโตอันเป็นดินแดนที่เคยเป็นของตระกูลโฮโจ เพื่อเป็นการขับไล่อิเอะยะซุอันเป็นคู่แข่งคนสำคัญของฮิเดะโยะชิไปอยู่ทางตะวันออกอันห่างไกล อิเอะยะซุจึงย้ายฐานที่มั่นไปยังปราสาทเอะโดะ (เมืองโตเกียวในปัจจุบัน)

ชัยชนะเหนือตระกูลโฮโจทำให้ตระกูลโทะโยะโตะมิปราศจากผู้ท้าทายอำนาจอีกต่อไป เมื่อดะเตะ มะซะมุเนะ (????( Date Masamune )?) ไดเมียวแห่งภูมิภาคโทโฮะกุทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของเกาะฮอนชูเข้าสวามิภักดิ์ต่อฮิเดะโยะชิ จึงเท่ากับว่าการรวบรวมอาณาจักรญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียวตั้งแต่สมัยของโอะดะ โนะบุนะงะนั้น เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

ใน ค.ศ. 1589 นางโยะโดะ โดะโนะ (??( Yodo-dono )?) ภรรยาน้อยคนโปรดของท่านคัมปะกุ (บุตรสาวของอะซะอิ นะงะมะสะ กับนางอิจิ และเป็นหลานสาวของโอะดะ โนะบุนะงะ ซึ่งฮิเดะโยะชิได้รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมในค.ศ. 1583) ได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่ฮิเดะโยะชิชื่อว่า สึรุมะสึ (??( Tsurumatsu )?) แต่ทว่าสึรุมะสึได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1591 ด้วยอายุเพียงสามปี ฝ่ายคัมปะก'ฮิเดะโยะชิอายุมากแล้วและยังไม่มีทายาท จึงได้รับโทะโยะโตะมิ ฮิเดะซึงุ (????( Toyotomi Hidetsugu )?) ผู้เป็นหลานชาย (บุตรชายของนางโตะโมะ พี่สาวของฮิเดะโยะชิ) เป็นบุตรบุญธรรมและแต่งตั้งให้เป็นทายาทสืบทอดตระกูลโทะโยะโตะมิต่อไป รวมทั้งน้องชายคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะนะงะ ก็ได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1591 เช่นกัน ทำให้ฮิเดะโยะชิเศร้าโศกเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจสละตำแหน่งคัมปะกุให้แก่ฮิเดะซึงุผู้ป็นหลานชาย ส่วนตนเองนั้นดำรงตำแหน่งเป็นไทโค (??( Taik? )?) หรือผู้สำเร็จราชการที่สละตำแหน่งแล้ว

เมื่อรวบรวมญี่ปุ่นได้แล้ว ไทโคฮิเดะโยะชิก็มีความทะเยอทะยานอยากที่จะพิชิตจีนราชวงศ์หมิง จึงได้ส่งทูตไปยังราชสำนักเกาหลีราชวงศ์โชซอนเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ไทโคฮิเดะโยะชิจึงตัดสินใจที่จะเข้ารุกรานเกาหลีเพื่อเป็นทางผ่านในการเข้ารุกรานจีนต่อไป ไทโคจึงได้ระดมขุนพลที่เก่งกล้าสามารถของตนทั้งหมดไปรุกรานเกาหลีใน ค.ศ. 1592 เรียกว่า การรุกรานปีบุงระกุ (????( Bunraku-no-eki )?) ประกอบด้วย อุกิตะ ฮิเดะอิเอะ เป็นแม่ทัพใหญ่ และขุนพลคนอื่นๆ ได้แก่ โคะนิชิ ยุกินะงะ (????( Konishi Yukinaga )?), คะโต คิโยะมะซะ (????( Kat? Kiyomasa )?), คุโระดะ นะงะมะสะ (????( Kuroda Nagamasa )? บุตรชายของคุโระดะ คัมเบ), ชิมะซุ โยะชิฮิโระ (????( Shimazu Yoshihiro )? น้องชายของชิมะซุ โยะชิฮิสะ), ฟุกุชิมะ มะซะโนะริ (????( Fukushima Masanori )?), โคะบะยะกะวะ ทะกะกะเงะ, และโมริ เทะรุโมะโตะ โดยที่ท่านไทโคคอยบัญชาการอยู่ที่เมืองฟุกุโอกะบนเกาะคีวชู โคะนิชิ ยุกินะงะ ได้นำทัพแรกขึ้นฝั่งที่เมืองปูซาน และสามารถนำทัพเข้ายึดเมืองฮันซอง (โซลในปัจจุบัน) โดยใช้เวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น พระเจ้าซอนโจกษัตริย์เกาหลีได้เสด็จหนีไปอยู่เมืองเปียงยาง ทัพญี่ปุ่นจึงติดตามไปเข้าบุกยึดเมืองเปียงยาง จนกษัตริย์เกาหลีต้องเสด็จหนีไปเมืองปักกิ่งเพื่อทูลขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิว่านลี่ จักรพรรดิว่านลี่จึงทรงส่งแม่ทัพจีนชื่อว่า หลี่หรู้ซ้ง (Li Ruzong) นำทัพจีนเข้ามาขับไล่ทัพญี่ปุ่นกลับไป ฝ่ายทัพญี่ปุ่นซึ่งอ่อนกำลังลงและไม่สามารถต้านทานทัพจีนได้ จึงต้องเจรจาสงบศึกในที่สุดใน ค.ศ. 1593

ใน ค.ศ. 1593 นางโยโดได้ให้กำเนิดบุตรชายอีกคนให้แก่ท่านไทโค มีชื่อว่า ฮิโระอิมะรุ (??( Hiroi-maru )?) ทำให้ไทโคฮิเดะโยะชิเกิดความต้องการที่จะให้บุตรชายของตนเป็นผู้สืบทอดแทนที่ฮิเดะสึงุหลานชายที่ได้แต่งตั้งไปแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้ปลดคัมปะกุฮิเดะสึงุออกจากตำแหน่งทายาทและเนรเทศไปยังเขาโคยะ (??( K?ya )?) สองปีต่อมาใน ค.ศ. 1595 ฮิเดะโยะชิจึงมีคำสั่งให้ฮิเดะสึงุทำเซ็ปปุกุเสียชีวิตไป และนำตัวภรรยาเอกภรรยาน้อยและบุตรทั้งหมดของฮิเดะสึงุร่วมหลายสิบชีวิตมาประหารชีวิตในเมืองเกียวโต

ในขณะที่ไทโคฮิเดะโยะชิพำนักอยู่บนเกาะคีวชูนั้น ได้สังเกตว่าชาวคริสเตียนและมิชชันนารียังคงดำเนินกิจกรรมของตนต่อไปตามปกติ แม้จะมีประกาศขับไล่ออกไปใน ค.ศ. 1587 แล้วก็ตาม ใน ค.ศ. 1597 ไทโคฮิเดะโยะชิจึงมีคำสั่งให้นำตัวชาวญี่ปุ่นที่เป็นคริสเตียนและมิชชันนารีชาวโปรตุเกสที่เมืองนะงะซะกิรวมทั้งหมดจำนวนยี่สิบหกคน มาประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน เรียกว่า เหตุการณ์ยี่สิบหกมรณสักขี (???????( Nihon Nij?roku Seijin )?) นับว่าเป็นการสังหารชาวคริสเตียนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ไทโคฮิเดะโยะชิได้ยื่นข้อเสนอต้องการที่จะนำพระธิดาของพระจักรพรรดิจีนมาเป็นภรรยา ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของราชสำนักจีน แต่ราชสำนักจีนก็ได้แต่งตั้งให้ไทโคฮิเดะโยะชิเป็น "กษัตริย์แห่งญี่ปุ่น" (????( Nihon-koku-? )?) เข้าสู่ระบบบรรณาการของจีน แต่ไทโคฮิเดะโยะชิไม่ต้องการที่จะส่งบรรณาการให้แก่ราชวงศ์หมิง และเท่ากับเป็นการละเลยองค์พระจักรพรรดิที่เกียวโตด้วย (ซึ่งจีนและเกาหลีไม่ทราบว่ามี) การเจรจาจึงไม่ประสบความสำเร็จและไทโคฮิเดะโยะชิได้ส่งทัพเข้ารุกรานเกาหลีอีกครั้งใน ค.ศ. 1597 เรียกว่า การรุกรานปีเคโจ (????( Keich?-no-eki )?) แต่ทว่าทางฝ่ายจีนและเกาหลีนั้นได้เตรียมการรับมือไว้เป็นอย่างดี ทำให้ทัพญี่ปุ่นไม่ประสบความสำเร็จเหมือนการรุกรานปีบุงระกุ อีกทั้งยังพ่ายแพ้ที่ยุทธนาวีโนรยาง (Battle of Noryang) ด้วยการนำของขุนพลลีซุนชิน (Yi Sunsin) ในค.ศ. 1598

ไทโคฮิเดะโยะชิหลังจากที่ได้จัดงานดอกซะกุระบานที่วัดไดโง (?????( Daig?-no-hanami )?) ในเมืองเกียวโตใน ค.ศ. 1598 ได้ล้มป่วยลงในฤดูร้อนปีนั้น ในขณะที่สงครามในเกาหลียังไม่คลี่คลาย ท่านไทโคแม้ว่าจะมีผู้สืบทอดแล้ว คือฮิโระอิมะรุ หรือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ (????( Toyotomi Hideyori )?) ซึ่งอายุเพียงห้าปี ไทโคฮิเดะโยะชิเกรงว่าหากว่าตนเสียชีวิตไปโดยที่บุตรชายอายุยังน้อยอาจถูกไดเมียวผู้ทรงอำนาจคนอื่นแย่งชิงอำนาจไป จึงได้ก่อตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนขึ้น ได้แก่ โงะไทโร (???( Go-Tair? )?) หรือผู้อาวุโสทั้งห้า ประกอบด้วยไดเมียวผู้ทรงอำนาจที่สุดในเวลานั้นจำนวนห้าท่าน ได้แก่

และยังมีคณะผู้บริหารที่ทำหน้าที่บริหารงานหลังจากที่ท่านไทโคถึงแก่อสัญกรรม จำนวนห้าคน เรียกว่า โงะบุเกียว (???( Go-Bugy? )?) ประกอบด้วย

ไทโคฮิเดะโยะชิ ได้ถึงแก่อสัญกรรมลงในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1598 ที่ปราสาทฟุชิมิ (??( Fushimi )?) หรือปราสาทโมะโมะยะมะ (??( Momoyama )?) ในเมืองเกียวโต ด้วยอายุ 61 ปี ได้มีคำสั่งสุดท้ายให้ถอนทัพญี่ปุ่นทั้งหมดกลับคืนมาจากเกาหลี และให้ปิดบังการถึงแก่อสัญกรรมของท่านไทโคไม่ให้เหล่าทหารได้ทราบด้วยเกรงว่าจะเสียกำลังใจ ในปีต่อมาใน ค.ศ. 1599 จึงได้มีการประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของไทโคฮิเดะโยะชิอย่างเป็นทางการ

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ นับเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีกำเนิดจากชนชั้นชาวนา แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นซะมุไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง บรรลุภารกิจการรวบรวมประเทศญี่ปุ่นที่แตกออกเป็นแคว้นต่างๆ ในยุคเซงโงะกุได้สำเร็จ สืบสานเจตนารมณ์ของโอะดะ โนะบุนะงะ

แต่ทว่าการปกครองของตระกูลโทะโยะโตะมิหลังจากการอสัญกรรมของฮิเดะโยะชิแล้วนั้นอยู่ได้เพียงไม่นาน ใน ค.ศ. 1599 มะเอะดะ โทะชิอิเอะ ไทโรผู้อาวุโสที่สุดได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ทำให้โทะกุงะวะ อิเอะยะซุกลายเป็นไดเมียวผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่น แต่ก็ยังเป็นที่ต่อต้านของผู้ที่จงรักภักดีต่อตระกูลโทะโยะโตะมิ อันประกอบด้วยอิชิดะ มิสึนะริ (????( Ishida Mitsunari )?) คนรับใช้คนสนิทของฮิเดะโยะชิ และไทโรอีกสามคนที่เหลือ จนกระทั่งนำไปสู่ยุทธการเซะกิงะฮะระ (??????( Sekigahara-no-tatakai )?) ซึ่งเป็นความพ่ายแพ้ของอิชิดะ มิสึนะริผู้ซึ่งถูกประหารชีวิตไป ชัยชนะของอิเอะยะซุทำให้เขาได้อำนาจเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นโดยแท้จริงอย่างเบ็ดเสร็จ และได้รับการแต่งตั้งเป็นโชกุนใน ค.ศ. 1603 อันเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลโชกุนเอะโดะ (????( Edo bakufu )?)

ฝ่ายโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ ยังคงมีชีวิตเติบใหญ่อยู่ในปราสาทโอซะกะ ภายใต้การดูแลของนางโยโดผู้เป็นมารดา ได้ถูกโชกุนอิเอะยะซุลดฐานะลงเป็นเพียงไดเมียวธรรมดา ใน ค.ศ. 1614 ฮิเดะโยะริได้สมคบคิดกับมารดาของตน ซ่องสุมกำลังพลเตรียมก่อการกบฏเพื่อคืนอำนาจให้แก่ตระกูลโทะโยะโตะมิ ทำให้อิเอะยะซุตัดสินใจที่จะกำจัดตระกูลโทะโยะโตะมิให้สิ้นซาก นำไปสู่การล้อมปราสาทโอซะกะ (????( Osaka-no-jin )?) ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวใน ค.ศ. 1615 เมื่อทัพของฝ่ายโทะโยะโตะมิพ่ายแพ้และทัพโทะกุงะวะสามารถเข้ายึดปราสาทได้ ฮิเดะโยะริจึงกระทำเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปพร้อมกับมารดา เป็นการอวสานของตระกูลโทะโยะโตะมิ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180